ก้าน แก้วสุพรรณ

ก้าน แก้วสุพรรณ: “ผู้เปิดตำนานนักร้องจากแดนสุพรรณ” เจ้าของบทเพลง “น้ำตาลก้นแก้ว"

มีชื่อจริงว่า มงคล หอมระรื่น มีชื่อเล่นว่า แดง เป็นชาว อ.สามชุก ครอบครัวมีฐานะยากจนจึงถูกนำมาฝากเลี้ยงและต่อมาก็ได้เป็นบุตรบุญธรรมของพระครูสุนทรานุกิจ(หลวงพ่อวัดสามชุก)เพื่อให้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนหลังจบการศึกษาชั้น ป.4 หลวงพ่อต้องการส่ง ก้าน แก้วสุพรรณ มาศึกษาต่อที่ กรุงเทพฯ โดยให้มาอยู่ที่วัดปรินายก ย่านสะพานผ่านฟ้า แต่การที่จะมาอยู่ที่นี่ได้เขาจะต้องบวชเป็นสามเณรเสียก่อนเพียงในวัย 10 ปี ก้าน แก้วสุพรรณ จึงได้บวชเป็นสามเณรและศึกษาพระธรรมจนจบนักธรรมตรีเมื่ออายุ 17 ปี จากนั้นก็ถูกส่งมาสอบนักธรรมโทที่ กรุงเทพฯ โดยมาอยู่ที่วัดปรินายก หลังบวชอยู่ได้ไม่นาน ก้าน แก้วสุพรรณ ต้องการออกหางานทำ เพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว จึงสึกออกมาและมาทำงานเป็นกระเป๋ารถเมล์บริษัท รสพ. ประจำอยู่ที่อู่ศรีนครแต่ก็ทำได้ไม่นานเพราะทนกับการถูกรังแกของอันธพาลไม่ไหวจึงตัดสินใจกลับบ้านที่สุพรรณบุรี แต่หลังจากที่อยู่บ้านไม่นานเขาก็ตัดสินใจกลับเข้ากรุงเทพฯอีกครั้งโดยคราวนี้เข้ามาทำงานเป็นนักมวยตระเวนชกตามงานต่างๆในยุคนั้นใกล้ๆกับสังเวียนมวยที่เขาไปตระเวนขึ้นชกมักมีเวทีให้ประชันน้ำเสียงด้วยหลังชกมวยเสร็จ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพื่อนก็มักมาเที่ยวตามเวทีประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง และเขาก็มักถูกเพื่อนๆผลักดันให้ขึ้นประกวดแบบจำใจเมื่อเพื่อนๆแอบมาลงชื่อสมัครไว้ก่อนแล้วเมื่อถูกโฆษกเรียกก็ต้องขึ้นไปแต่เขาก็สามารถคว้าชัยชนะและรางวัลมาครองได้หลายเวทีคและเมื่อเห็นว่าการร้องเพลงดีกว่าการชกมวยที่ไม่ต้องเหนื่อยและเจ็บตัว ก้าน แก้วสุพรรณ ก็จึงตระเวนประกวดร้องเพลงไปเรื่อยๆจนถูกกรรมการขอร้องไม่ให้เข้าประกวดเขาจึงถูกแมวมองมาทาบทามให้ไปเป็นนักร้องบันทึกแผ่นแต่หลังจากที่ถูกพาไปพบกับ บังเละ วงค์อาบู และ คำรณ สัมบุญนานนท์ และถูกปฏิเสธกลับมา ก้าน แก้วสุพรรณ

 

จากนั้นไม่นาน เขาได้ทราบข่าวว่า ครู ป. ชื่นประโยชน์ เปิดโรงเรียนสอนดนตรีและขับร้องเพลง เขาจึงไปลองสมัครดูงานนี้ผู้ที่มาสมัครต้องมีการเทสต์เสียงด้วยถ้าคนไหนเสียงเข้าขั้นก็จะถูกเรียกตัวมาในภายหลังงานนี้ ก้าน แก้วสุพรรณ ไม่ผิดหวังเมื่อถูกเรียกตัวและเมื่อมาเป็นนักเรียนร้องเพลงเขาก็สร้างความประทับใจให้กับครูด้วยการอาสาช่วยงานสารพัดทั้งเก็บกวาดปัดถูจนครู ป. เห็นใจ และได้เป็นศิษย์เอกและบุตรบุญธรรมตอนมีงานแสดงก็มักถูกเรียกตัวไปร่วมในวงด้วยเมื่ออยู่ที่นี่ ก้าน แก้วสุพรรณ หัดสีไวโอลินและแซ็กโซโฟน แต่ครูเห็นว่าเขาน่าจะเอาดีได้ทางกลอง จึงให้ฝึกกลอง แต่ครูก็สอนโน้ตดนตรีและการขับร้องเพลงให้ในที่สุดก็แต่งเพลงให้เพลงหนึ่งชื่อ “ คนชาวนา “ พร้อมกับพาไปบันทึกเสียงและเปลี่ยนชื่อเป็น ก้าน แก้วสุพรรณ จากนั้นก็ได้บันทึกเสียงอีก 2 เพลง แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักในหมู่แฟนเพลงเขามาเป็นที่รู้จักของแฟนเพลงจากเพลง “ หลงกรุง ” ซึ่งแต่งโดย ต่อชัย ภู่ชมภู แต่เสียชีวิตก่อนที่จะแต่งเสร็จ ครู ป. จึงนำมาแต่งต่อ เขาจึงได้เข้ามาเป็นนักร้องแนวหน้าของวงร่วมกับ สุรพล สมบัติเจริญ , ผ่องศรี วรนุช ก่อนที่จะตอกย้ำความดังด้วยเพลง แก่งคอย ขณะที่ ก้าน แก้วสุพรรณ กำลังดัง ครู .ได้หยุดวง ก้าน แก้วสุพรรณ และเพื่อนในวงได้ขอเข้ามาทำวงต่อและเปลี่ยนชื่อวงเป็นวงเป็นชื่อว่าวงดนตรี “ ประกายดาว “ โดยได้รวบรวมเอานักร้องดังในยุคนั้นมาอยู่ในวงมากมายทั้ง สุรพล สมบัติเจริญ , ผ่องศรี วรนุช , ทูล ทองใจ , และคำรณ สัมบุณนานนท์ วงของเขาจึงมีงานเข้ามาไม่ขาดสายและรับไม่ไหวเขาจึงส่งเสริมให้ สุรพล สมบัติเจริญ แยกไปตั้งวงเพื่อแบ่งงานไปบ้างต่อมาวง “ ประกายดาว “ เปลี่ยนชื่อมาเป็นวง “ ก้าน แก้วสุพรรณ “ และทั้งวงของเขาและของ สุรพล สมบัติเจริญ มามากมายหลังเลิกราจากวงการลูกทุ่ง ก้าน แก้วสุพรรณ หันมาจับกิจการด้านร้านอาหาร จัดสรรที่ดินและปลูกบ้านจัดสรรแต่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จจึงเลิกราไปนอกจากนั้นเขาก็ยังปลุกปั้นนักร้องลูกทุ่งประดับวงการด้วยหลายคน

 

ในช่วงกลาง จนถึงช่วงปลายของชีวิต นักร้องชั้นบรมครู ก้าน แก้วสุพรรณ ยังคงมีความสุขกับการพบปะแฟนเพลงทั้งงานการกุศลและวานรับเชิญ รวมถึงมุ่งมั่นส่งเสริมการอุปสมบท จนได้ขนานนาม ว่าเป็น พ่อครูแห่งโหราศาสตร์แห่งการทำขวัญนาค

 

ก้าน แก้วสุพรรณ เสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ ด้วยอายุ 74 ปี เมื่อเวลา 06.50 น. วันที่ 6 ต.ค. พ.ศ. 2556 ที่โรงพยาบาลวัดไร่ขิง เมตตาประชารักษ์ จ.นครปฐมโดยตั้งสวดพระอภิธรรม และพระราชทานเพลิงศพ (เป็นกรณีพิเศษ) ณ วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยมีครอบครัวผู้ใกล้ชิด และเหล่าลูกศิษย์ รวมไปถึงมิตรรักแฟนเพลง ต่างเดินทางมาจากทั้งสารทิศ เพื่อทำความเคารพ และไว้อาลัยอย่างมืดฟ้ามัวดิน

ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ก้าน_แก้วสุพรรณ